#BlackLivesMatter

ค้นพบว่าคุณสามารถช่วยอะไรได้บ้างที่นี่

originally created by @godjinnie currently managed by @moncherityong
(หากมีข้อมูลที่ผิดพลาด หรือต้องการเพิ่มเติมตรงไหน ติดต่อ cheri นะคะ)

การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์


ชนวนเหตุการประท้วงเกิดจากเหตุการณ์อันน่าสลดที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา

ชายผิวดำนาม 'จอร์จ ฟลอยด์' (George Floyd) อายุ 46 ปีถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้อำนาจและกำลังเกินกว่าเหตุส่งผลให้เขาเสียชีวิต เหตุเพียงเพราะสงสัยว่าเขาอาจใช้ธนบัตรปลอมซื้อสินค้า

เย็นวันนั้นฟลอยด์ได้ซื้อบุหรี่จากร้านสะดวกซื้อชื่อ Cup Foods โดยพนักงานที่รับหน้าที่เป็นแคชเชียร์คิดว่าเขาจ่ายเงินด้วยธนบัตร 20 ดอลลาร์ปลอม (ราว 600 บาทไทย) จึงโทรแจ้งตำรวจ


ฟลอยด์อาศัยอยู่ในเมือง Minneapolis มาได้หลายปีแล้วหลังตัดสินใจย้ายจาก Houston รัฐ Texas ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเจ้าตัว เขาเริ่มทำงานเป็นการ์ดในบาร์แห่งหนึ่งในตัวเมืองได้ไม่นานมานี้ แต่ท้ายที่สุดก็ต้องตกงานเหมือนกับชาวอเมริกันคนอื่นๆ หลังบริษัทห้างร้านได้รับผลจากพิษการแพร่ระบาดของไวรัส


เจ้าของร้านให้สัมภาษณ์ภายหลังกับสื่อว่าฟลอยด์เป็นลูกค้าประจำของร้าน Cup Foods หนุ่มใหญ่ตัวโตมักจะเข้าร้านมาด้วยใบหน้ายิ้มแย้มเป็นมิตร และไม่เคยสร้างปัญหาใดๆให้เลย แต่วันเกิดเหตุผู้เป็นเจ้าของร้านไม่ได้อยู่ที่ร้านด้วย เขากล่าวว่าพนักงานวัยรุ่นที่เข้ากะอยู่ตอนนั้นเป็นผู้ทำการแจ้งเรื่องแก่ตำรวจ


ตามรายงานแจ้งว่าเมื่อมาถึงจุดเกิดเหตุ นายตำรวจสั่งให้ฟลอยด์ยกมือขึ้นเพื่อแสดงความจำนนด้วยปืนโดยปราศจากความจำเป็น เพราะฟลอยด์ไม่มีท่าทีขัดขืนใดๆ และนายตำรวจเดเร็ค เชาวิน (Derek Chauvin) ที่ตามมาสมทบทีหลังซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในภาพข่าวทุกภาพก็ได้จับฟลอยด์กดลงพื้น พร้อมใช้เข่ากดทับคอเป็นเวลารวม 8 นาที 46 วินาทีจนทำให้เขาขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตในที่สุด


"ผมหายใจไม่ออก" (I can't breathe) ฟลอยด์ร้องบอกซ้ำๆ ชายผู้น่าสงสารเรียกหาแม่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วขณะที่อ้อนวอนขอชีวิตต่อเจ้าหน้าที่เชาวิน


รายงานกล่าวว่าเชาวินนั่งทิ้งน้ำหนักลงบนคอฟลอยด์แบบนั้นเป็นเวลาต่อเนื่อง 8 นาที 46 วินาที


ราว 6 นาทีหลังโดนกดเข่าที่ลำคอ ฟลอยด์เริ่มไร้การตอบสนอง หากดูในวิดีโอที่ถูกถ่ายไว้จะเห็นว่านี่เป็นช่วงที่เขาเงียบไป และประชาชนที่อยู่ที่นั่นบอกให้เจ้าหน้าที่เข้าเช็คการเต้นของหัวใจโดยด่วน


หนึ่งในเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ. อเล็กซานเดอร์ คูเอง (J. Alexander Kueng) ได้เข้าไปตรวจหาจังหวะการเต้นของชีพจรที่ข้อมือด้านขวาของฟลอยด์แต่ "ไม่พบ" แต่ถึงกระนั้นเจ้าหน้าที่ทั้งหมดก็ไม่ขยับเขยื้อนไปไหน

ไม่นานเชาวินจึงยอมยกถอนเข่าออกจากลำคอของฟลอยด์ ร่างกายของชายผิวดำแน่นิ่งสนิท ไม่มีการตอบรับ ฟลอยด์ถูกพาขึ้นเตียงผู้ป่วยเพื่อพาไปโรงพยาบาล Hennepin County Medical Center


มีการประกาศว่าเขาเสียชีวิตหนึ่งชั่วโมงให้หลัง


ในคืนก่อนที่เหตุการณ์ทั้งหมดจะเกิดขึ้น ฟลอยด์ได้พูดคุยกับเพื่อนสนิทของเขาชื่อคริสโตเฟอร์ แฮร์ริส (Christopher Harris) เกี่ยวกับการหางาน โดยแฮร์ริสได้แนะนำให้เข้าลองติดต่อกับเอเจนซี่หางานระยะสั้นดู


เขาให้ความเห็นว่าการใช้ธนบัตรปลอมไม่ใช่เรื่องที่คนอย่างฟลอยด์จะทำ

จนถึงขณะนี้ไม่ได้มีการยืนยันใดๆว่าธนบัตรที่ฟลอยด์ใช้นั้นเป็นธนบัตรปลอมจริงอย่างที่โดนกล่าวหาหรือไม่ ประเด็นดังกล่าวถูกเบนมาที่การที่เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจเกินกว่าเหตุจนส่งผลให้มีคนเสียชีวิตโดยไม่ใช่เรื่อง ซึ่งในอเมริกามีประเด็นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมต่อกลุ่มคนผิวดำอยู่แต่เดิม

ทุกๆปีจะมีเคสที่เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงและฆ่าคนผิวดำโดยไม่ใช่เรื่องขึ้นมาเป็นประเด็น ชนิดที่ว่าเข้าบ้านผิดแล้วไปยิงคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่จนตายขณะที่เขาหลับอยู่ โดยที่ผู้ต้องสงสัยที่จะจับก็จับได้ตั้งนานแล้วก็มีมาแล้ว และเมื่อเหตุน่าสลดนี้เกิดขึ้นพร้อมคลิปเหตุการณ์ชัดแจ๋วอันน่าสะเทือนใจทำให้ชาวอเมริกันที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ออกมาเดินกลุ่มประท้วง โดยล่าสุดมีรายงานแจ้งว่ามีการประท้วงเกิดขึ้นทุกรัฐครบ 50 รัฐแล้วเรียบร้อย ถือว่าเป็นการออกมาเคลื่อนไหนครั้งสำคัญในรอบหลายปี


เหตุการณ์หลังฟลอยด์เสียชีวิต


ในบรรดาเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการตายของฟลอยด์นั้น เชาวินผู้ใช้เข่ากดคอฟลอยด์ถูกประณามมากที่สุด เขาถูกไล่ออกจากงาน และถูกตั้งคดีฆ่าคนโดยไม่เจตนา (ความรุนแรงของคดีระดับเบาสุดคือระดับที่ 3) แต่เมื่อมีการเรียกร้องถึงความไม่สมเหตุสมผลของโทษ ล่าสุดได้มีการเพิ่มระดับความรุนแรงเป็นระดับ 2 เรียบร้อย และล่าสุดตำรวจอีกสามนายก็จะโดนดำเนินคดีด้วยเช่นกัน


ปัจจุบันสถานการณ์ที่อเมริกาเคร่งเครียดเข้าไปทุกที นอกจากผู้ประท้วงออกไปเรียกร้องความเป็นธรรมแก่ฟลอยด์ และเรียกร้องให้ปฏิบัติต่อคนดำอย่างเท่าเทียมกับคนผิวขาวแล้ว ยังมีมิจฉาชีพอาศัยจังหวะความชุลมุนไปปล้นและทำลายร้านค้า ส่งผลให้ผู้ชุมนุมโดนตราหน้าว่าเป็นผู้สร้างความเดือดร้อน ไม่ได้ประท้วงเพื่อสิทธิเสรีภาพ ทั้งที่ความจริงแล้วเป็นตัวกลุ่มคนผิวดำเองที่ไปยืนบังห้ามให้คนเข้าห้างร้านเพื่อฉวยโอกาสขโมยของ และสร้างภาพลักษณ์ไม่ดีแก่กลุ่มผู้ประท้วง แต่สื่อไม่เคยรายงานด้านนี้เลย


ทางทรัมป์เองก็ยิ่งแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ก็ยิ่งแย่ ล่าสุดเขาบอกให้แต่ละรัฐจัดการผู้ชุมนุมให้เด็ดขาด ถ้าคุมไม่ได้จะส่งทหารไปคุมแทน ซึ่งหลายคนถึงกับร้องออกมาด้วยความตกใจ เพราะแทนที่จะใช้อำนาจในการสั่งการจัดการกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับจอร์จฟลอยด์ให้เรื่องมันจบ แต่ดันเลือกที่จะประกาศสงครามกับประชาชนของตัวเองซะแบบนั้น จากที่คนอเมริกันศรัทธาน้อยลงแล้วก็ยิ่งศรัทธาน้อยลงไปอีก


ส่วนสำนักข่าวเองก็ถูกควบคุมไม่น้อย ส่วนใหญ่เสนอข่าวเอนเอียงไปทางรัฐบาลกันหมด เน้นภาพผู้ฉวยโอกาสปล้นสินค้าและความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ปัญหาหลัก มีการเสนอคลิปที่ชวนให้เข้าใจผิดออกสื่อบ่อยครั้งว่าผู้ชุมนุมเป็นตัวปัญหา หรือไม่ก็โฆษณาชวนเชื่อแสร้งว่าตำรวจดูแลประชาชนที่ไปประท้วงอย่างดีด้วยการคุกเข่าฟังความเดือดร้อน (แต่จริงๆแล้วหลังจากนั้นไม่กี่นาทีตำรวจพ่นแก๊สน้ำตาใส่ เป็นการหลอกให้คนตายใจ และได้ภาพสวยๆไปสร้างภาพเฉยๆ) ที่แย่กว่านั้นคือผู้สูงอายุทั้งหลายในแต่ละครัวเรือนก็เสพแต่ข่าวจากช่องพวกนั้นด้วย ตอนนี้สถานการณ์ด้านความคิดไม่ตรงกันเรื่องทัศนคติทางการเมืองระหว่างเจเนอเรชั่นเลยเกิดขึ้นมา เรียกได้ว่าไม่ต่างจากบ้านเรานัก


ทุกชีวิตก็มีค่าเช่นกัน ไม่ใช่เฉพาะคนผิวดำ?


หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเราจึงต้องช่วยสนับสนุนการออกมาเรียกร้องสิทธิ์ของคนผิวดำ มีบางคนสวนกระแสยกวลี 'All Lives Matter' ขึ้นมาอ้างว่าทุกชีวิตมีค่าเช่นเดียวกับคนผิวดำ

คำตอบง่ายๆคือความต้องการที่คุณจะอยากให้ทุกชีวิตมีความเท่าเทียมจะไม่เกิดขึ้น หากคนผิวดำยังไม่ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม

ผู้เขียนเข้าใจว่าชาวเอเชียก็ประสบปัญหาการเหยียดเชื้อชาติไม่น้อยทั้งจากคนผิวขาวหรือแม้กระทั่งคนเอเชียด้วยกันเอง แต่ทุกการเปลี่ยนแปลงต้องมีจุดเริ่มต้นเสมอ หากคุณเชื่อว่าทุกชีวิตมีค่าเท่ากันคุณจะไม่ปฏิเสธที่จะช่วยเหลือกลุ่มคนผิวดำเป็นอันขาด นอกเสียจากว่าคุณเพียงแค่ต้องการต่อต้านการออกมาเรียกร้องสิทธิ์ของพวกเขาเท่านั้น

ยกตัวอย่างง่ายๆสำหรับผู้ที่ยังนึกภาพตามไม่ออก การออกมากู่ร้องว่า 'All Lives Matter' นั้น ไม่ต่างจากกรณีที่มีบ้านไฟไหม้และมีคนแห่กรูเข้าไปช่วยดับเพลิงบ้านหลังดังกล่าว แต่ในขณะที่ทุกฝ่ายกำลังช่วยสกัดเพลิงนั้น คุณกลับเดินดุ่มๆออกมาจากบ้านตัวเอง กู่ร้องพร้อมชี้นิ้วไปที่บ้านของคุณว่า "แล้วบ้านฉันล่ะ บ้านฉันไม่สำคัญเลยเหรอ"

เพื่อ...อะไรคะ
นั่นแหละค่ะเหตุผล

เราเข้าใจว่าสถานการณ์บ้านเมืองเราตอนนี้ก็ย่ำแย่ไม่ต่างกัน แต่การช่วยเหลือพวกเขานั้นทำได้ง่ายมากค่ะ การลงชื่อสนับสนุนแคมเปญต่างๆเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมก็ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น คงจะดีนะคะหากหนึ่งเสียงเล็กๆของเราสามารถช่วยทำให้โลกน่าอยู่ขึ้นมาบ้าง

การเปลี่ยนแปลงเริ่มจากจุดเล็กๆเสมอ มาช่วยเปลี่ยนโลกของเรากันค่ะ


ร่วมลงชื่อสนับสนุนแคมเปญต่างๆ


ทุกคนสามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการเรียกร้องความเท่าเทียมของคนผิวดำได้ด้วยการลงชื่อสนับสนุนแคมเปญผ่านเว็บไซต์ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ โดยบางแคมเปญจะมีการให้ยืนยันตัวผ่านอีเมลหลังลงชื่อด้วย หากไม่ลงจะไม่ถูกนับชื่อเข้าร่วม ดังนั้นเช็คให้ดีทุกครั้งนะคะ

แคมเปญล่ารายชื่อที่ยกมานั้นจะมีหลากหลายกรณี แต่ทุกเคสล้วนเป็นเคสที่เพื่อนผิวดำไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมทั้งสิ้น

สามารถเช็คและติดตามแคมเปญที่เปิดลงรายชื่อได้ที่ carrd หลักเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ นะคะ จะมีการอัพเดทตลอด สามารถเช็คเวลาที่อัพเดทล่าสุดผ่านหน้าบล็อกของทางนั้นค่ะ


บริจาคเงินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


อ่านแล้วอาจจะงงว่าเอ๋ ถ้าไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้วจะบริจาคเป็นเงินได้ยังไง ได้นะคะ เพราะจะมี youtuber บางคนตั้งค่าวิดีโอให้เป็นคลิปการกุศล รายได้ทุกบาททุกสตางค์จากการเข้าชมจะถูกส่งต่อให้กับองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนผิวดำค่ะ

ทั้งนี้จะมี 2 เคสนะคะ คือคลิปที่ออกตัวว่าทำมาเพื่อการบริจาค ทุกบาททุกสตางค์เข้าการกุศลโดยไม่เข้ากระเป๋าตัวเองก่อนเลยจะมีคำว่า #fundraiser อยู่ค่ะ และอีกกรณีจะเป็นการที่เจ้าของคลิปสัญญาปากเปล่าว่าจะโดเนท

อย่างไรแล้วทางนี้โดยส่วนตัวแนะนำให้สนับสนุนเคสที่ 1 นะคะ เพราะแสดงความจริงใจ เปิดเผย และเป็นขั้นเป็นตอนมากกว่า

ปัจจุบันคลิปที่ดูแล้วรายได้จะถูกนำเข้าการกุศลเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเพื่อนผิวดำที่ผ่านเข้ามาให้เห็นและมีการจัดหมวดคลิปว่าทำขึ้นเพื่อการกุศลมีดังนี้

omuriceu

Sam Collins

หากต้องการค้นหาเพิ่มเติม หรือสตรีมจากคลิปที่ไม่มีแท็กห้อย สามารถค้นด้วยคำว่า 'stream to donate' ได้ค่ะ